ประเภทของความรู้
1. ความรู้ฝังลึก หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge)
2. ความรู้ชัดแจ้ง หรือความรู้ที่ปรากฏ (Explicit Knowledge)
ระดับของความรู้ (Levels of Knowledge)
ระดับที่ 1 รู้ว่าคืออะไร (Know - What)
ระดับที่ 2 รู้ว่าเป็นอย่างไร/รู้วิธีการ (Know - How)
ระดับที่ 3 รู้ว่าทำไม/รู้เหตุผล (Know - Why)
ระดับที่ 4 ใส่ใจกับเหตุผล (Care – Why)
ปัจจัยหลักของการจัดการความรู้ โดย Elias, A. & Hasson, G. (2004)
1. คน (People , Workforce)
2. เทคโนโลยี (Technology)
3. กระบวนการและองค์การ (Organization , process)
องค์ประกอบของการจัดการความรู้ของ Turban
1. การสร้างความรู้ (Create)
2. การเสาะหาจัดเก็บความรู้ (Capture/Store)
3. การเลือกความรู้ (Refine)
4. การแบ่งปันความรู้ (Distribute)
5. การใช้ความรู้ (Use)
6. การประเมินความรู้ (Monitor)
กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 1 ตามแนว กพร.
กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้
1. การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
5. การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น
7. การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ
กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
3. การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน
4. การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
5. การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน
กระบวนการจัดการความรู้ แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์
กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้
1. การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้
2. การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร
3. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
4. การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้
5. การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้
6. การวัดประเมินผลการจัดการความรู้
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ (วิจารณ์ พานิช, 2547 : ออนไลน์)
การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ
1. บรรลุเป้าหมายของงาน
2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้
4. บรรลุความเป็นชุมชนเป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ไว้ 8 ประการ นฤมล พฤกษศิลป์ และพัชรา หาญเจริญกิจ (2543:65)
1. ป้องกันความรู้สูญหาย
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
5. การพัฒนาทรัพยฺ์สิน
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
7. การบริการลูกค้า
8. การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล
รูปแบบการจัดการความรู้ของบริษัท Xerox Corporation
1. การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and behavior management)
2. การสื่อสาร (Communication)
3. กระบวนการและเครื่องมือ (Process and tools)
4. เรียนรู้ (Training and learning)
5. การวัดผล (Measurements)
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Rewards)
กลยุทธ์การจัดการความรู้ (Knowledge Management Strategy)
1. Codification strategy เป็นกลยุทธ์ที่เน้นให้ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์จากความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
2. Personalization Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้แฝงที่อยู่ในตัวบุคคล
ปัจจัยที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสําเร็จ
Davenport, T. H & De Long, et al. (1998)
1. องค์กรต้องมีวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่นในการจัดการความรู้
2. มีจุดประสงค์และประโยชน์ต่อองค์กรชัดเจน
3. ผู้นำด้านความรู้เป็นคนที่ผลักดันโครงการจัดการความรู้ให้เป็นจริง
4. มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ
5. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารอาวุโส
6. มีการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
7. โครงสร้างองค์กรสนับสนุนการจัดการความรู้
8. บุคคลภายในองค์กรมีทัศนคติเชิงบวกกับการสร้าง การใช้ และการแบ่งปันความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้
1. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technologies)
2. เทคโนโลยีสนับสนุนการทํางานร่วมกัน (Collaboration Technologies)
3. เทคโนโลยีในการจัดเก็บ (Storage และ Retrieval Technologies)
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549)
อธิบายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการจัดการความรู้
ตัวอย่างเช่น
1. ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
2. ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
3. ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)
4. ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VDO Conference)
5. การเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (E-Broadcasting)
6. การระดมความคิดผ่านระบบเครือข่าย (Web Board หรือ E-Discussion)
7. ซอฟต์แวร์สนับสนุนการทํางานร่วมกันเป็นทีม (Groupware)
8. บล็อก (Blog หรือ Weblog)
เครื่องมือจัดการความรู้ (Knowledge Management Tools)
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ (บดินทร์ วิจารณ์, 2547)
1. ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP)
2. การใช้ที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยง (Mentoring)
3. การทบทวนหลังปฏิบัติการหรือการถอดบทเรียน (After Action Review : AAR)
4. การเสวนา (Dialogue)
5. ฐานความรู้บทเรียน และความสำเร็จ (Lesson Learning)
6. แหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence : CoE)
7. การเล่าเรื่อง (Story Telling)
8. เพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist)
9. เวทีถาม-ตอบ (Forum)
สมชาย นําประเสริฐชัย (2552) ได้กล่าวว่า ระบบการจัดการความรู้ประกอบด้วย
กลุ่มของเทคโนโลยี 3 กลุ่ม
1. กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร (Communication Technologies)
2. กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกัน (Collaboration Technologies)
3. กลุ่มเทคโนโลยีด้านหน่วยเก็บและค้นคืนข้อมูล (Storage และ Retrieval Technologies)
หลัก 5 ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และบุคคลเรียนรู้ โดย Senge (1990)
1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model)
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
องค์กรที่มีการเรียนรู้จะต้องมีการเรียนรู้ เกิดขึ้น 3 ระดับ
1. การเรียนรู้ระดับบุคคล ใช้กระบวนการ การตีความ (Interpreting)
2. การเรียนรู้ระดับกลุ่ม ใช้กระบวนการ การรวบรวมแนวความคิด (Integrating)
3. การเรียนรู้ระดับองค์กร ใช้กระบวนการ การปลูกฝังและการปฏิบัติ (Institutionalizing)
การพัฒนาระบบแบบน้ำตก (Waterfall model)
1. การกําหนดและเลือกโครงการ (System Identification and Selection)
2. การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ (System Initiation and Planning)
3. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
4. การออกแบบระบบ (System Design)
5. การพัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation)
6. การบํารุงรักษาระบบ (System Maintenance)
การพัฒนาระบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Application Development)
1. การวางแผนความต้องการ (Requirements Planning)
2. การออกแบบการใช้งาน (User Design)
3. การสร้างระบบ (Construction)
4. การใช้งานระบบ (Cutover)